ย้อนประวัติ วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม วันแห่งชัยชนะของประชาชน

ย้อนประวัติ วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม วันแห่งชัยชนะของประชาชน

นับว่าเป็นอีก 1 ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยสำหรับเหตุการณ์อย่าง 14 ตุลา  เพราะเป็นเหตุการณ์การเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยย้อนกลับไปช่วงปี พ.ศ. 2516 เยาวชนคนหลาย ๆ คนที่เป็นนักเรียนและนิสิตนักศึกษาทั้งหลาย ได้ร่วมตัวกับเหล่าประชาชนนับแสนชีวิตเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลคณาธิปไตยของ ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ปลดปล่อยเหล่าแกนนำนิสิต นักศึกษาร่วมไปถึงอาจารย์ และนักการเมืองทั้ง 13 คนที่ได้ถูกจับกุมในการออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญแต่กลับถูกรัฐบาลตั้งข้อหาว่าเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย โดยได้มีการมั่วสุมและชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองในที่สาธารณะมากกว่า 5 คนแถมยังตั้งข้อหาบ่อนทําลายความมั่นคงของรัฐ เป็นกบฏภายในพระราชอาณาจักร และมีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์อีกด้วย ย้อนลำดับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จุดเริ่มต้นของเรื่องราวนี้เริ่มต้น วันที่ 5 ตุลาคม 2516 อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างนาย ธีรยุทธ บุญมี ผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญพร้อมกับสมาชิกประมาณ 10 คนได้ออกมาเรียกร้องบริเวณท้องสนามหลวงโดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองใหญ่ ๆ 3 ข้อได้แก่ 1. เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว 2. จัดหลักสูตรสอนอบรมรัฐธรรมนูญสําหรับประชาชน 3. กระตุ้นประชาชนให้สํานึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพและในวันเองมีผู้ลงนามมากถึง 100 คน ต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม มีผู้กลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งได้ทำการเดินแจกใบปลิวและหนังสือต่าง […]