เรียกได้ว่าเป็นกระแสที่โด่งดังฉุดไม่อยู่จริง ๆ สำหรับพระนักเทศน์ยุคใหม่ที่ประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์มาเผยคำสอนและหลักธรรมต่าง ๆ ที่มีวลีเด็ด ๆ เพียบแถมยังเรียกเสียงฮาและร้อยยิ้มให้กลับคนรุ่นใหม่หันมาสนใจธรรมมะและศาสนากันมากขึ้นและยังขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์และมีผู้คนติดตามเป็นจำนวนมาก
ประวัติของ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ
ณ เวลานี้คงจะไม่มีใครไม่รู้จักพระนักเทศน์ชื่อดังอย่าง พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ โดยมีชื่อเดิม ๆ ว่า ไพรวัลย์ วรรณบุตร เป็นคนจังหวัดจันทบุรี ในอดีตชีวิตของพระไพรวัลย์ไม่ได้สวยหรูสักเท่าไหร่เพราะท่านเกิดมาในครอบครัวที่ค่อนข้างที่จะยากจนจึงทำให้หลังจากเรียนจบ ป.6 ท่านก็เดินเข้าสู่ทางธรรมด้วยการ บวชเณรอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย จนกระทั่งอายุได้ 12 ปี ท่านก็มีโอกาสได้เป็นสามเณร ป.ธ.9 รูปแรกของจังหวัดสุโขทัย พออายุครบที่จะบวชได้แล้วนั้นพระไพรวัลย์ซึ่งตอนนั้นก็ยังเป็นเณรอยู่ท่านก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุนาคหลวง ภายหลังท่านได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทพุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และในขณะนี้ท่านก็กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ สล็อตเครดิตฟรี
ธรรมมะตามสไตล์พระมหาไพรวัลย์
ช่วงนี้พระมหาไพรวัลย์ถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์เป็นอย่างมากจนโด่งดังแบบสุด ๆ จากการเผยแพร่คำสอนหลักธรรมต่าง ๆ ของพุทธศาสนาและยังให้แง่คิดต่าง ๆ ที่เรียกเสียงฮาจากคนที่ดูนับไม่ถ้วน เพราะปัจจุบันนี้คนยุคใหม่อาศัยอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้นในเมื่อเป็นแบบนี้ศาสนาเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงเช่นกันจะให้ย่ำอยู่ที่เดิมก็คงจะไม่ได้เพราะยุคสมัยมันเปลี่ยนปัจจุบันท่านจึงเล็งเห็นว่า วิธีที่จะทำให้คนสนใจศาสนามากขึ้นนั้นท่านจะต้องเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงใหม่ เพราะถ้าให้เทศน์อยู่ที่วัดอย่างเดียวหลาย ๆ คนคงจะเบื่อกันน่าดู เพราะส่วนใหญ่จะทำได้เพียงแค่ฟัง
ไม่นานท่านจึงมีความคิดที่อยากจะเข้าถึงกลุ่มผู้คนใหม่ ๆ รวมถึงหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่พวกเขาเหล่านั้นอาจจะไม่เอาศาสนาแล้วก็ได้ หรือเขาจะเบื่อกับประเพณีเดิม ๆ ที่มันล้าสมัยไปแล้ว ท่านจึงอยากเปลี่ยนแปลงธรรมมะในจุด ๆ นี้ให้ดูน่าจะใจยิ่งขึ้นเลยได้ลองทำเป็นธรรมมะแนวตลก ๆ ที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าศาสนาไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อหรือเข้าถึงยากแต่กลับกลายเป็นว่าพอเขาได้คุยกับอาตมาหรือพระรูปอื่น ๆ พวกเขาน่าจะรู้สึกตลก สนุก รู้สึกเข้าถึงง่ายและสบายใจที่สำคัญเลยยุคไม่เหมือนเมื่อก่อนขนาดตัวเราเองยังชอบที่จะซื้อของออนไลน์เลยซึ่งแน่นอนการที่คนรุ่นใหม่ ๆ จะเดินเข้าวัดมาฟังเทศน์ฟังธรรมกันนั้นมีน้อยมากแล้วพวกเขาก็คงอยากจะอยู่บ้าน อยู่บนรถ อยู่ที่ทำงาน หรืออยู่ที่ไหน ๆ ก็ฟังเทศน์ฟังธรรมกันได้ ไม่ต้องเสียเวลามานั่งฟังกันที่วัด ท่านก็มองว่าเรื่องไม่ใช่เรื่องผิดแต่มันคือเรื่องปกติกที่ผู้คนต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น
สื่อออนไลน์มีทั้งดีและไม่ดี
พระมหาไพรวัลย์ ได้เล่าว่า หลาย ๆ ครั้งตัวท่านเองมักจะถูกล้อจากคนที่เห็นต่างบนสื่อออนไลน์อยู่บ่อย ๆ ว่า แครอทบ้าง เดรสส้มบ้าง แต่ท่านก็ไม่ถือสาอะไรเพราะท่านเชื่อว่าคนสมัยนี้รู้จักกาลเทศะกันมากขึ้นหลาย ๆ ที่ได้พบตัวจริงของคนที่เห็นต่างเหล่านี้ก็มักจะวางตัวดีมีกิริยาที่ดีต่อท่านทุกครั้ง บนโลกออนไลน์มันอาจจะเป็นอีกตัวตนหนึ่งของเขาที่ทำให้เขากล้าแสดงออกมาขึ้นและที่สำคัญหากท่านถือสาหรือเจ้าคิดเจ้าแค้นกับคำพูดเหล่านี้ท่านก็ว่ามันก็ไม่ช่วยอะไร ไม่ได้สบายใจแถมทำให้แย่ลงท่านยังรู้ว่าคำพูดเหล่านี้มักเกิดจากการพูดหยอกล้อเพียงเท่านั้น
ซึ่งท่านก็ได้ใช้ Facebook มานานมากไม่ได้คาดหวังอะไรมากเท่าไหร่แค่ตั้งใจว่ามันจะเป็นสื่อออนไลน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับคนรุ่นใหม่ได้รับรู้เกี่ยวกับธรรมะและศาสนา ปกติแล้วท่านจะไลฟ์สัปดาห์ละ 1 วันแต่หลังจากที่มีผู้คนสนใจเป็นจำนวนมากท่านเองก็ว่าจะทำการไลฟ์ให้บ่อยขึ้นหากไม่ได้ติดกิจต่าง ๆ เพราะการเผยแผ่ธรรมะ ต้องเรียนรู้และปรับไปตามยุคสมัยเพื่อไม่ให้เกิดความล้าหลัง ต้องทำให้ธรรมะดูใหม่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการนำเสนอต่าง ๆ หรือสไตล์การนำเสนอต่าง ๆ หากทำแล้วเป็นเอกลักษณ์ได้ยิ่งดีเพราะคนสมัยนี้ชอบความแปลกใหม่ อะไรที่ซ้ำซากจำเจพวกเขาก็จะรู้สึกเบื่อได้ง่าย คนสมัยใหม่แอนตี้ศาสนากันค่อนข้างเยอะ เพราะพวกเขารู้สึกว่าศาสนานั้นสอนเชิญบังคับเพียงอย่างเดียว ชี้ถูกผิดตามหลักที่ถูกบันทึกกันมา แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนการนำเสนอใหม่ ๆ ลองให้ตัวเรากลายเป็นเพื่อนเขา โดยไม่ต้องคำนึงถึงคำว่าพระมากนัก ให้พวกเขาคุยได้ เราเป็นเพียงแค่ผู้ชี้นำทาง แล้วให้เขาคิดด้วยตัวเองว่าถูกหรือผิด ซึ่งพวกเขาจะชอบกันอย่างแน่นอนพระมหาไพรวัลย์ยังคงย้ำอยู่เสมอว่า peoplelikeuscollective “สิ่งสำคัญที่สุดของศาสนาคือเราจะทำยังไงให้ได้สอนเขา แบบไม่ให้เขารู้สึกว่าถูกสอน”