นับว่าเป็นอีก 1 ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยสำหรับเหตุการณ์อย่าง 14 ตุลา เพราะเป็นเหตุการณ์การเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยย้อนกลับไปช่วงปี พ.ศ. 2516 เยาวชนคนหลาย ๆ คนที่เป็นนักเรียนและนิสิตนักศึกษาทั้งหลาย ได้ร่วมตัวกับเหล่าประชาชนนับแสนชีวิตเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลคณาธิปไตยของ ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ปลดปล่อยเหล่าแกนนำนิสิต นักศึกษาร่วมไปถึงอาจารย์ และนักการเมืองทั้ง 13 คนที่ได้ถูกจับกุมในการออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญแต่กลับถูกรัฐบาลตั้งข้อหาว่าเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย โดยได้มีการมั่วสุมและชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองในที่สาธารณะมากกว่า 5 คนแถมยังตั้งข้อหาบ่อนทําลายความมั่นคงของรัฐ เป็นกบฏภายในพระราชอาณาจักร และมีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์อีกด้วย
ย้อนลำดับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวนี้เริ่มต้น วันที่ 5 ตุลาคม 2516 อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างนาย ธีรยุทธ บุญมี ผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญพร้อมกับสมาชิกประมาณ 10 คนได้ออกมาเรียกร้องบริเวณท้องสนามหลวงโดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองใหญ่ ๆ 3 ข้อได้แก่ 1. เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว 2. จัดหลักสูตรสอนอบรมรัฐธรรมนูญสําหรับประชาชน 3. กระตุ้นประชาชนให้สํานึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพและในวันเองมีผู้ลงนามมากถึง 100 คน
ต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม มีผู้กลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งได้ทำการเดินแจกใบปลิวและหนังสือต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ออกไป แถมยังมีผู้เรียกร้องบ้างกลุ่มได้ถือป้ายโปสเตอร์ต่าง ๆ นานานโดยเนื้อหาในโปสเตอร์มีข้อความที่เขียนออกไปแต่มีความหมายไปในทางเดียวกันอย่างเช่น น้ำตาเราตกใน เมื่อเราไร้รัฐธรรมนูญหรือจงปลดปล่อยประชาชน ประชาชนต้องการรัฐธรรมนูญ เป็นต้น โดยผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ได้ร่วมกันเดินขบวนเล็ก ๆ มาจนถึงประตูน้ำหลังจากนั้นเวลาประมาณ 14.00 น ทั้ง 11 คนก็ถูกตํารวจจับกุมไปทั้งหมด ซึ่งในทั้ง 11 คนนั้นก็ได้ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าทำเรื่องมั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองที่สำคัญทางตํารวจยังไม่ยอมให้เยี่ยมและห้ามประกันโดยเด็ดขาด
หลังจากทั้ง 11 โดยจับกุมไป วันที่ 7 ตุลาคม 2516 ตำรวจก็ได้บุกค้นบ้านและที่พักร่วมไปถึงสำนักงานของผู้ที่ถูกจับทั้งหมดก่อนที่จะจับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคําแหงเพิ่มได้อีก 1 คน รวมเป็น 12 คน ทำให้องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตัดสินใจออกมากเคลื่อนไหวและได้เรียกประชุมด่วนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยทันที โดยเช้าของวันที่ 8 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันแรกของการสอบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวันนั้นเองทั่วทั้งมหาลัยก็ได้มีการแปะโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลกันอย่างหนักทั้งยังมีนักศึกษาอีกไม่น้อยที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้งหมดร่วมถึงขอความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุมทุกคน
ใันวันต่อมาเป็นวันที่ 9 ตุลาคม เหตุการณ์ต่าง ๆ เริ่มรุนแรงขึ้นทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการลดธงดําลงครึ่งเสาพร้อมกับประกาศงดสอบ และยังมีแผ่นข้อความที่โจมตีรัฐบาลต่าง ๆ นานา อย่างเช่น เอาประชาชนคืนมา และ เราเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นกบฏหรือ ในวันนั้นเองมีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถทำการสอบได้ นักศึกษาจำนวนมากเหล่านั้นจึงได้พาไปกันออกไปร่วมชุมนุม
5 วันสุดท้ายก่อนถึงวันมหาวิปโยค
เหลือเพียง 5 วันสุดท้ายก่อนถึงวันแห่งประวัติศาสตร์ วันนี้เป็นวันที่ 10 ตุลาคม 2516 ฝนตกหนักตลอดทั้งคืนหลักจากที่ฝนหยุดตกได้ไม่นานนักศึกษาหลายคนก็ค่อย ๆ ทยอยออกมาชุมนุมกันอีกครั้ง ในครั้งนี้มามหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งได้มีการเชิญชวนเหล่านักศึกษาให้มาร่วมเรียกร้องและออกมาร่วมชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก ในวันนั้นทำให้ลานโพธิ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการชุมนุมโดยมีนักศึกษาจากหลาย ๆ สถาบันได้มาร่วมกัน ทำให้วันนั้นมีผู้ร่วมชุนนุมมากกว่า 1 หมื่นคน นี่เป็นเหตุที่ให้รัฐบาลได้เพิ่มมาตรการป้องกันของสถานการณ์นี้มากขึ้น
จนเช้าวันที่ 11 ตุลาคม 2516 เป็นวันที่มีผู้ร่วมชุมนุมมากถึง 5 หมื่นคนเหล่าผู้ชุมนุมได้นิมนต์พระสงฆ์ ประมาณ 200 รูปมาร่วมกันทําบุญตักบาตรในบริเวณที่ชุมนุมก่อนจะมีการขึ้นพูดโจมตีรัฐบาลกันอย่างต่อเนื่องทำให้ฝ่ายรัฐบาลเริ่มทำการเคลื่อนไหวได้ตัดสินใจเข้ามาเจรจาแต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ทำให้ในคืนนั้นเอง รัฐบาลได้ตั้งศูนย์ปราบปรามจลาจลขึ้นที่สวนรื่นฤดี ส่วนฝั่งผู้ชุมนุมเองก็ได้รับเงินบริจาคร่วมไปถึงอาหารและพลไม้ต่าง ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมากเช่นกัน
หลังจากที่มีการชุมนุมติดต่อกันมาเป็นเวลาอย่างยาวนานทั้งคืนทั้งวัน วันนี้ก็เป็นวันที่ 12 ตุลาคม ถนนทุกสายที่มุ่งหน้าสู่ธรรมศาสตร์ติดขัดหนักเป็นอย่างมากเพราะทุกคนล้วนมุ่งหน้าไปชุมนุม พอถึงเที่ยงวันของวันนี้ทางศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ออกมายื่นคำขาดให้รัฐบาลปลดปล่อยบุคคลเหล่านั้นภายในเวลา 24 ชั่วโมงไม่งั้นจะต้องเจอไม้เด็ด ทำให้การชุมนุมในวันนี้มีจํานวนผู้ร่วมชุมนุมกว่าแสนคน
เช้าวันที่ 13 ตุลาคม หลังจากที่ผู้ชุมนุมไม่ได้คำตอบอะไรจากรัฐบาลเลย ผู้ชุมนุมจึงได้ตัดสินใจเริ่มเดินขบวบออกจากธรรมศาสตร์ หลาย ๆ ข่าวคาดการ์ณเป็นเสียงเดียวกันว่าวันนี้มีนักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่มาชุมนุมนั้นเข้าร่วมเดินขบวนกันมากกว่า 5 แสนคน พอตกเย็นทางแกนนำได้เข้าไปเจรจาครั้งสุดท้ายกับจอมพลประภาส จารุเสถียร เมื่อได้รับคําตอบว่าจะปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน และจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1 ปี แต่ในค่ำของวันนั้นได้มีข่าวลือต่าง ๆ นานา แฝงตัวมาและพร้อมที่จะใช้อาวุธร้ายแรงต่าง ๆโจมตีรัฐบาลและยุยงส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวาย
ในนี้ที่สุดเช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2516 วันนี้ได้กลายเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นวันมหาวิปโยค เกิดการปะทะกันกันอย่างต่อเนื่องเพราะการสลายการชุมนุมตลอดทั้งวัน จากจุดปะทะเล็ก ๆ ณ บริเวณหน้าสวนจิตรลดาจนเหตุการณ์ได้บานปลายไปมากทำให้รัฐบาลปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงฝั่งของผู้ชุมนุมเองก็ไม่ยอมและได้ตอบโต้กันทันที ทำให้ปะทะทุกแห่งมีการนองเลือดไม่ขาดสายและทำให้การปะทะกันในครั้งนี้ยาวไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2516
จากเหตุการณ์ในครั้งมีเหล่าทหารและตํารวจที่ไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมากที่ใช้วิธีการที่รุ่นแรงเกินไป ทำให้จอมพลถนอม กิตติขจร และพวก ต้องลาออกจากตําแหน่งและได้ทำการเดินทางออกจากประเทศไทยไปในที่สุดเหตุการณ์นี้จึงสงบลงแต่ความสูญเสียที่เสียไปไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ peoplelikeuscollective
เครดิต ลำดับเหตุการณ์ “14 ตุลา”
Credit สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ